วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ประเภทของปุ๋ย

1. ปุ๋ยอินทรีย์
                   ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยพืชสด  ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และวัสดุที่เหลือใช้จากโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิดซึ่งเป็นพวกอินทรีย์สาร
-ปุ๋ยคอก ที่สำคัญ ได้แก่ ขี้หมู ขี้เป็ด ขี้ไก่ ฯลฯ  เป็นปุ๋ยคอกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในบรรดาสวนผักและสวนผลไม้  ปุ๋ยคอกโดยทั่วไปแล้วถ้าคิดราคาต่อหน่วยธาตุอาหารพืชจะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี แต่ปุ๋ยคอกช่วยปรับปรุงดินให้โปร่งและร่วนซุย  ทำให้การเตรียมดินง่าย  การตั้งตัวของต้นกล้าเร็วทำให้มีโอกาสรอดได้มาก

-ปุ๋ยหมัก ได้แก่ ปุ๋ยที่เราได้จากการหมักเศษพืช เช่น หญ้าแห้ง ใบไม้ ฟางข้าว ฯลฯ ให้เน่าเปื่อยเสียก่อน  จึงนำไปใส่ในดินเป็นปุ๋ย ปุ๋ยเทศบาลที่บรรจุถุขายในชื่อของปุ๋ยอินทรีย์เบอร์ต่างๆ ซึ่งได้จากการนำขยะในเมือง พวกเศษพืช เศษอาหาร เข้าโรงหมักเป็นขั้นตอนจนกลายเป็นปุ๋ย  ปุ๋ยหมักสามารถทำเองได้ โดยการกองสุมเศษพืชสูงขึ้นจากพื้นดิน 30-40 เซนติเมตร แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม ต่อเศษพืชหนัก 1,000 กิโลกรัม เสร็จแล้วก็กองเศษพืชซ้อนทับลงไปอีก แล้วโรยปุ๋ยคอกผสมปุ๋ยเคมี ทำเช่นนี้เรื่อยไปเป็นชั้นๆ จนสูงประมาณ 1.5 เมตร ควรมีการรดน้ำแต่ละชั้นเพื่อให้มีความชุ่มชื้น และเป็นการทำให้มีการเน่าเปื่อยได้เร็วขึ้น  กองปุ๋ยหมักนี้ทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ ก็ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งหนึ่ง

-ปุ๋ยพืชสด ได้จากการปลูกพืชบำรุงดิน ได้แก่ พืชตระกูลถั่วต่างๆ แล้วทำการไถกลบเมื่อพืชเจริญเติบโตมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังออกดอก พืชตระกูลถั่วที่ควรใช้เป็นปุ๋ยพืชสดควรมีอายุสั้น มีระบบรากลึก ทนแล้ง ทนโรคและแมลงได้ดี เป็นพืชที่ปลูกง่าย และมีเมล็ดมาก เช่น ถั่วพุ่ม ถั่วเขียว ถั่วลาย ปอเทือง ถั่วขอ ถั่วแปบ และโสน
                                                                  
 2. ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์
                        ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ได้มาจากการผลิตหรือสังเคราะห์ทางอุตสาหกรรมจากแร่ธาตุต่างๆที่ได้ตามธรรมชาติ หรือเป็นผลพลอยได้ของโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด
                ปุ๋ยเคมีมี 2 ประเภท คือ แม่ปุ๋ยหรือปุ๋ยเดี่ยว และปุ๋ยผสม
-แม่ปุ๋ย ได้แก่ ปุ๋ยพวกแอมโมเนียมซัลเฟต โพแทสเซียมคลอไรด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นสารประกอบทางเคมี มีธาตุอาหารปุ๋ยคือ N หรือ P  หรือ K เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วยหนึ่งหรือสองธาตุ แล้วแต่ชนิดของสารประกอบที่เป็นแม่ปุ๋ยนั้นๆ มีปริมาณของธาตุอาหารของพืชคงที่
-ปุ๋ยผสม ได้แก่ ปุ๋ยที่มีการนำเอาแม่ปุ๋ยหลายๆชนิดมารวมกัน เพื่อให้ปุ๋ยที่ผสมได้มีปริมาณและสัดส่วนของธาตุอาหาร N P และ K ตามที่ต้องการ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปุ๋ยที่มีสูตรหรือเกรดปุ๋ยเหมาะที่จะใช้กับพืชและดินที่แตกต่างกัน ปุ๋ยผสมนี้จะมีขายอยู่ในท้องตลาดทั่วไปเพราะนิยมใช้กันมาก ปัจจุบันเทคโนโลยีในการทำปุ๋ยผสมได้พัฒนาไปไกลมาก สามารถผลิตปุ๋ยผสมให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ มีการปั้นเป็นเม็ดขนาดสม่ำเสมอสะดวกในการใส่ลงไปในไร่นา  ปุ๋ยพวกนี้เก็บไว้นานๆ จะไม่จับกันเป็นก้อนแข็ง สะดวกแก่การใช้
           
  ข้อดี-ข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมี
                 ปุ๋ยอินทรีย์
ข้อดี       1.ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก
                2.อยู่ในดินได้นาน และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้าๆ
                3.เมื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีจะช่วยเสริมคุณภาพของปุ๋ยเคมีให้ดีขึ้น
                4.ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ในดินทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข้อเสีย   1.มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
                2.ใช้เวลานานในการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช
                3.ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อเทียบกับราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหาร
                4.มีจำนวนจำกัด ไม่สามารถหาซื้อในปริมาณมากๆได้
                       ปุ๋ยเคมี
ข้อดี       1.มีปริมาณธาตุอาหารต่อหน่วนน้ำหนักของปุ๋ยสูง จึงใช้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย
                2.ราคาถูก สะดวกในการเก็บรักษาและการขนส่ง
                3.หาซื้อได้ง่าย เพราะสามารถผลิตจากโรงงาน
                4.ให้ธาตุอาหารแก่พืชได้เร็ว
ข้อเสีย   1.ไม่มีคุณสมบัติในการปรับปรุงดิน ไม่ทำให้ดินร่วนซุยเหมือนปุ๋ยอินทรีย์
                2.ปุ๋ยไนโตรเจนในรูปแอมโมเนียม ถ้าใช้ปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆ จะทำให้ดินเป็นกรดเพิ่มขึ้น
                3.ถ้าใช้ในอัตราที่สูงเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อพืช
                4.ผู้ใช้ต้องมีความรู้เกี่ยวกับปุ๋ยเคมีพอสมควร มิฉะนั้นอาจจะเกิดผลเสียหายมาก

3.ปุ๋ยไนโตรเจนที่ใช้อาจจัดเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ และปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี
                1.ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอินทรีย์ หมายถึง ปุ๋ยที่ได้จาสิ่งที่มีชีวิต เกิดการเน่าเปื่อยผุพังไป เช่น ปุ๋ยหมัก  ปุ๋ยคอก  ปุ๋ยเทศบาล เป็นต้น ปุ๋ยประเภทนี้จะมีปริมาณธาตุไนโตรเจนต่ำ ฉะนั้นในการใช้แต่ละครั้งต้องใช้ในปริมาณมาก  แต่มีความจำเป็นต้องใช้เพราะให้ประโยชน์ในการปรับปรุงดินให้โปร่ง ร่วนซุย ซึ่งเป็นสมบัติทางกายภาพที่สำคัญของดินที่พืชต้องการ
                2.ปุ๋ยไนโตรเจนประเภทอนินทรีย์หรือปุ๋ยเคมี ส่วนใหญ่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร แบ่งเป็นหลายประเภท ได้แก่
1. ปุ๋ยแอมโมเนีย (NH3) หรือ anhydrous ammonia หรือ  liquid ammonia(แอมโมเนียมเหลว) มีไนโตรเจนทั้งหมด 82% เป็นปุ๋ยที่มีปริมาณไนโตรเจนสูงที่สุด
2. ปุ๋ยยูเรีย (CO(NH2)2) เป็นเม็ดกลมสีขาว มีไนโตรเจนสูงรองจากปุ๋ยแอมโมเนีย คือ มีไนโตรเจนทั้งหมด 46% มีสมบัติดูดความชื้นได้ง่าย
3. ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต (NH4NO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด   35%
4. ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4  มีไนโตรเจนทั้งหมด   21%
5 .ปุ๋ยแอมโมเนียมคลอไรด์ (NH4Cl) มีไนโตรเจนทั้งหมด   24-26%
6. ปุ๋ยโซเดียมไนเตรต (NaNO3) มีไนโตรเจนทั้งหมด  16%
7. ปุ๋ยแคลเซียมไซยาไนด์ (CaCN2) มีไนโตรเจนทั้งหมด  21-22 % เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์  เวลาใช้ต้องใช้อย่างระมัดระวัง อาจใช้เป็นยาฆ่าหญ้า และฉีดพ่นให้ใบฝ้ายร่วงก่อนการเก็บเกี่ยวได้ด้วย
8. ปุ๋ยแคลเซียมไนเตรต (Ca(NO3)2)มีไนโตรเจนทั้งหมด  15.5%
9. ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรตซัลเฟต (NHNO.(NH4)2SO4) มีไนโตรเจนทั้งหมด  30%
10.ปุ๋ยไนโตรเจนอื่นๆ เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต-ซัลเฟต ปุ๋ยยูเรีย-ซัลเฟอร์  ปุ๋ยยูเรีย-ฟอสเฟต เป็นต้น
                ปกติธาตุไนโตรเจนในดินมีอยู่น้อยมาก  ส่วนใหญ่เป็นส่วนผสมอยู่ในอากาศ ซึ่งมีธาตุนี้อยู่ถึง 78% ของปริมาณอากาศทั้งหมดที่ห่อหุ้มโลก  โดยอยู่ในรูปของโมเลกุลไนโตรเจน (N2) ซึ่งพืชส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาใช้ได้โดยตรง นอกจากพืชตระกูลถั่วเท่านั้น ดังนั้นไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปสารประกอบ
อนินทรีย์เสียก่อน เช่น ในรูปของไนเตรต (NO3-) หรือแอมโมเนีย (NH4+) จึงจะนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้
                กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยไนโตรเจน  โรงงานอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยสามารถใช้ไนโตรเจนจากอากาศมาผลิตเป็นปุ๋ยไนโตรเจน  ในที่นี้จะเน้นการผลิตปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ((NH4)2SO4) และปุ๋ยยูเรีย (NH2CONH2)
                ปุ๋ย (NH4)2SO4 หรือปุ๋ยขาว เตรียมได้จากปฏิกิริยาระหว่างแก๊ส NH3 และสารละลายH2SO4
                                                2NH3 (g) + H2SO4 (aq)  (NH4)2SO4 (s)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น